ประตูชัย,เวียงจันทร์,ประเทศลาว
ในภาพซ้ายมือผมถ่ายภาพคู่กับไกด์สาวลาวสวยดี
ผมได้ค้นคว้าจากอินเตอร์เน็ตได้ข้อมูลดังนี้คือ
ประตูชัย,เวียงจันทร์,ประเทศลาว
ตั้งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือของนครเวียงจันทน์
บนถนนล้านช้างจาก
ล้านช้างมุ่งหน้ามาทางวงเวียนใหญ่คุณจะเห็นประตูชัยเด่นตระหง่านอยู่ตรงกึ่ง
กลาง
ประตูชัยสร้างเสร็จในปี
พ.ศ. 2512
เป็นอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงประชาชนชาวลาวผู้เสียสละชีวิตในสงครามก่อนหน้า
การปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์
ประตูชัยแห่งนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า
“รันเวย์แนวตั้ง”
เพราะการก่อสร้างประตูชัยแห่งนี้ใช้ปูนซีเมนต์ที่อเมริกาซื้อมาเพื่อนำ
มาสร้างสนามบินใหม่ในนครเวียงจันทน์ในระหว่างสงครามอินโดจีน
แต่ไม่ทันได้สร้างเพราะอเมริกาพ่ายแพ้สงครามนอินโดจีนเสียก่อน
จึงนำปูนซีเมนต์มาสร้างประตูชัยแทน
ลักษณะสถาปัตยกรรมของประตูชัยได้รับอิทธิพลมาจากประตูชัยใน
กรุงปารีส
ประเทศฝรั่งเศส
เจ้าอาณานิคมในสมัยนั้น
แต่ลักษณะทางสถาปัตยกรรมของประตูชัยก็ยังคงเอกลักษณ์ในแบบของชาวลาวปรากฏให้
เห็นอย่างชัดเจน
ไม่ว่าจะเป็นพุทธิศิลปลาว
ภาพเรื่องราวมหากาพย์รามายณะแบบปูนปั้นใต้ซุ้มโค้งของประตูชัย
บริเวณทางเข้าภายในมีบันไดให้เดินขึ้นไปชมทิวทัศน์ของนครเวียงจันทน์ตามชั้น
ต่าง ๆ
จนถึงบันไดเวียนชั้นบนสุดของประตูชัย
จากจุดนี้สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ได้รอบตัวเมืองหลังจากนั้นเดินลงมาสามารถ
แวะซื้อของที่ระลึกตามร้านค้าต่าง
ๆ
ในแต่ละชั้นได้ตามใจชอบ
ประวัติประตูชัย
26 ก.พ. ค.ศ.1957(พ.ศ.
2500)
มีดำรัสจากนายกรัฐมนตรีให้แต่งตั้งคณะกรรมการ
เพื่อจัดการประกวด
แข่งขันการออกแบบประตูชัย
ซึ่ง
ท้าวทำไชยะสิดเสนา
ผู้บัญชาการกรมยุทธสรรพาวุธ
ได้รับชนะเลิศ
รูปลักษณะและความหมายของประตูชัย
อนุสาวรีย์
มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส
มีประตูสี่ด้าน
ซึ่งต่างจากที่ฝรั่งเศสมีเพียงสองด้าน
หลังคาเป็น
ยอดช่อฟ้า 5
ยอด
ด้านในใจกลางของประตูชัยมีป่องสำหรับจุดเปลวไฟเป็นอนุสรณ์สมมติ
ของดวงวิญญาณวีระชนนิรนาม
ทั้งหมดแบ่งเป็น
3 ชั้น ๆ ที่ 3
เป็นหลังคามียอดช่อฟ้า
5 ช่อ
ตรงยอดช่อฟ้า
ใหญ่มีหอคอยติดตั้งกล้อง
ส่องทางไกล
ให้ชมทิวทัศน์รอบด้าน
ของเวียงจันทน์
รูปทรง
ได้นำเอาสูตรตำราเลข
3 ตัว คือ 3-7-8
เลข 3
หมายถึง
แก้วสามประการ
ซึ่งหมายถึงอำนาจพระพุทธ
พระธรรม
และพระสงฆ์
เลข 7
หมายถึง
จำนวนวันในหนึ่งสัปดาห์
เลข 8
หมายถึง
ทิศทั้ง 8
ซึ่งทั้งหมดมีความหมายดังนี้
-ความกว้างแต่และด้าน
24 เมตร(3x8= 24)
เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส
-ความสูง 49
เมตร(7x7 = 49)
จะเห็นได้ว่าอนุสาวรีย์นี้มีรูป
4
เหลี่ยมมณฑลอันเป็นเอกลักษณ์พื้นฐานของสถาปัตยกรรมของลาวแท้
เช่น
พระธาตุหลวง
พระธาตุพนมพระธาตุอิงฮัง
พระธาตุสีโคตรบูรณ์พระธาตุพูสีพระธาตุสีสองรัก
พระธาตุบังพวน
ล้วนแต่มีรูปสี่เหลี่ยมแบบลาวแท้
การประดับประดาลวดลาย
ได้นำเอาลวดลายที่เป็นศิลปะลาวที่มีอยู่ตามอนุสรณ์สถานต่าง
ๆ เช่น
ดอกบัวใหญ่ที่ประดับล้อมประตูชัย
ได้นำแบบมาจากพระธาตุหลวง
ความหมายและประโยชน์ที่ใช้
1.
จุดประสงค์ที่สร้างขึ้นเพื่อ
เป็นที่ระลึกเพื่อแสดงความกตัญญูกตเวทิตา
และเชิดชูบูชาดวงวิญญาณวีรบุรุษ
วีรชนของชาติทุกยุคทุกสมัย
ไว้เป็นแบบอย่างอันสูงส่ง
แต่ดวงวิญญาณเป็นสิ่งจับไม่ได้
มองไม่เห็นจึงได้สมมติเอาเปลวไฟที่ใสส่องขาวสะอาด
คือตัวแทนของดวงวิญญาณให้เห็นประจักษ์ตา
เป็นรูปธรรม
เวลาประกอบ
พิธีเคารพ
บูชาตอบแทนบุญคุณ
ให้เหมือนกับว่าดวงวิญญาณปรากฎอยู่ต่อหน้า
2.
ประตูชัยมี
4 ด้าน
ด้านหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตก
และตะวันออก
ทะลุสู่ถนนล้านช้าง
ใช้สำหรับพิธีสวนสนามเดินผ่านประตูชัยอย่างองอาจมีไชย
ในวันสำคัญของชาติ
3.
ด้านนอกแต่ละมุมจะมีสระน้ำสร้างเป็นรูปดอกบัวตูมมีขอบสูง
ปลายดอกบัวแหลมชี้ออกนอก
ติดอยู่กับมุม
แต่ละมุมมีรูปพญานาคชูหัวองอาจ
ห้าวหัน
งดงาม
ยกหงอนชี้ฟ้า
อ้าปาก
ตัวพญานาคเป็นตัว
พระราชาแห่งนาค
เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของประเทศลาว
ดอกบัวตูมที่อยู่กลางสระน้ำนั้นหมายถึง
ดอกไม้เลิศพันธ์
มีไว้เพื่อบูชาแด่ดวงวิญญาณวีรชน
ผู้เลิศเลอมีบุญคุณเอนกอนันต์ต่อชาติลาว
4. แต่ละ 4
มุมของฝาด้านนอก
มีดอกไม้ประดับไว้สำหรับติดดอกไฟฟ้า
ในวันพิธีบุญเฉลิมฉลองสำคัญต่าง
ๆ
5.
มีบันไดขึ้น
2 ทาง 147 ขั้น
ท่านสามารถเดิมชมศิลปะของแต่ชั้นได้
ปัจจุบันใช้เป็นที่จำหน่าย
สินค้าของที่ระลึก
6. ยอดช่อฟ้า
เป็นชั้นสูงสุดมี
5 ยอด
เปรียบเสมือนปราสาทราชวัง
ยอดช่อฟ้าทั้งห้ายอดนี้
หมายถึง “ปัญจศิลา”
หัวใจหลักการนำชี้วิถีชีวิตให้แก่นักการเมืองในการปกครองประเทศ
5
ประการตามหลักพุทธรรมสายกลาง
เปี่ยมด้วยมิตรไมตรี
เกียรติศักดิ์ศรีเจริญรุ่งเรืองถาวร
อนุสาวรีย์แห่งนี้ใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ
63 ล้านกีบ
ตั้งแต่ปี
ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512)
เป็นต้นมา
การเดินขบวนสวนสนามก็ได้เดินลอดใต้ประตูชัยแห่งนี้ไปสู่สนามลานพระธาตุหลวง
ดังที่หนังสือแจ้งการของกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม
ได้บันทึกไว้ว่า
“
ขบวนมวลชนเพื่อยึดอำนาจอยู่เวียงจันทน์ใน
วันที่ 23
สิงหาคม ค.ศ.1975
(พ.ศ.2518)
ขบวนชาว
นครหลวงเวียงจันทน์และ
ตัวแทนประชาชนเขต
แขวงต่าง ๆ
ทั่วประเทศเพื่อฉลองชัยชนะแห่งการสถาปนา
สปป.ลาว
ก็ล้วนแต่ได้เดินผ่านประตูนี้ไป
จนกระทั่งมาถึงปี
ค.ศ.1976(พ.ศ.2519)
การสวนสนามได้ย้ายไปที่
ลานพระธาตุหลวง
ต่อหน้าอนุสาวรีย์นักรบนิรนาม
ที่พรรค
และรัฐบาลได้สร้างขึ้น
ประตูชัยกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่ง
ที่ทำรายได้เข้าประเทศ
นักท่องเที่ยวก่อนที่จะเดินทางไป
ถึงพระธาตุหลวง
และอนุสาวรีย์พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช
จะต้องแวะชมสถานที่แห่งนี้ก่อน
ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของประชาชนลาวทั่วประเทศ
My Journey time at Laos
2011