เอกสารประกอบการเรียน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

เรื่อง  ภาพกึ่งนามธรรม  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคการเรียนที่ 2

 

 

 

C:\My Documents\History of art\the reader.jpgรูปแบบของงานวิจิตรศิลป์

•         ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic)

•         ศิลปะกึ่งนามธรรม                  (Semi Abstract)

•         ศิลปแบบนามธรรม     (Abstract)   

 

•         ศิลปะแบบเหมือนจริง (Realistic) เป็นศิลปะที่ไม่ต้องใช้ความคิดที่

สลับซับซ้อนในการดูภาพ เนื่องจากมีเนื้อหาสาระที่ปรากฏชัดเจน แต่ศิลปินและ

ผู้ชมต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ ด้วย 

•         การพิจารณาก็ดูที่ความงามที่เหมือนจริง ความถูกต้องตามหลักการ

เหมือนจริง เนื้อหาสาระที่เป็นความจริง มีอารมณ์และให้ความรู้สึก เช่น  การ

แสดงออกถึงความสุข ความทุกข์ ความกังวล ความสดชื่น ฯลฯ เป็นต้น

•         ผู้ดูไม่จำเป็นต้องสร้างจินตนาการก็สามารถเข้าใจในความงามนั้นๆ ได้

C:\My Documents\History of art\Cubism\Picasso\ภาพนิ่ง23.JPG

 

ศิลปะกึ่งนามธรรม (Semi Abstract)

 

       เป็นศิลปะที่เริ่มบิดเบือนไปจากศิลปะแบบเหมือนจริง ด้วยการตัดทอน

   รูปทรงของจริงให้อยู่ในรูปแบบเรียบง่าย แต่ยังมีเค้าโครงที่เหมือนจริงหลงเหลือ

  อยู่ให้รู้ว่าเป็นรูปอะไร

      ๐ การสร้างศิลปะกึ่งนามธรรมนี้จะต้องมีจินตนาการในการสร้างสรรค์งาน

            เพื่อให้ผลงานมีรูปแบบที่แลดูแปลก น่าสนใจ รวมทั้งให้อารมณ์และความรู้สึก

ไม่จำเจทั้งเนื้อเรื่องและรูปแบบจะไม่ชัดเจนเหมือนศิลปะแบบเหมือนจริง  ดังนั้น

ผู้ชมงานศิลปะประเภทนี้จำเป็นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในลักษณะงาน

แบบกึ่งนามธรรมด้วยคุณค่าของงานจะเน้นโครงสร้างองค์ประกอบสีที่แปลก

น่าสนใจ ตื่นเต้น และแนวความคิดหลายด้าน หลายทางที่ผู้ชมต้องจินตนาการด้วย

 

 

ศิลปะแบบนามธรรม (Abstract)

•       เป็นศิลปะทีไม่มีรูปของความจริงเหลืออยู่ เพราะถูกตัดทอนให้เหลือแต่เส้น-แสงที่ก่อให้เกิดความงาม อารมณ์และความรู้สึก ศิลปินต้องใช้จินตนาการสูง คือ จินตนาการให้เป็นภาพหรือรูปทรงที่ประหลาด ที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง เป็นความคิดเพ้อฝัน รูปแบบของงานจะถูกตัดทอนจากภาพเหมือนจริงจนดูเรียบง่าย หรือบางครั้งดูสับสนจนยากที่จะเข้าใจ

•       ศิลปะนามธรรมไม่ใช่ศิลปะที่ไม่มีเนื้อหา แต่เนื้อหาสาระได้แสดงออกในรูปแบบนามธรรม คือ รูปร่าง รูปทรง เส้น แสง สี จึงยากที่จะเข้าใจ ศิลปินต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถสร้างผลงานออกมาได้ โดยเฉพาะ เส้น แสง สี ที่สร้างความรู้สึกได้หลายรูปแบบ เช่น ความหนาว ความร้อน ความสดชื่น ความน่ากลัว ฯลฯ

•       ศิลปะไม่จำเป็นจะต้องแสดงออกเป็นภาพเหมือนจริงเสมอไปก็ได้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Cubism

 

ศิลปะแบบ Cubism นั้น เกิดจากการที่ ศิลปินไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทางศิลปะที่ต่างออกไป จากแบบเก่าโดยสิ้นเชิง Cubism นั้น ยากแก่การให้ คำจำกัดความ มันไม่ใช่ทฤษฎี ระบบ หรือแม้แต่รูปแบบอะไรเพียงแบบเดียว หากแต่ว่า ศิลปิน คิวบิสต์ได้พยายามค้นคว้า จากแนวทาง ในการสร้างสรรค์ งานศิลปะ ที่แสดงให้เห็นวัตถุธาตุ ดยให้รู้สึกด้วยว่าภาพนั้นๆ ถูกสร้างขึ้นด้วยสีบนผืนผ้าใบ ไม่ใช่แค่เพียงทำเลียนแบบวัตถุ ให้ตาเห็นเป็นจริงอย่างธรรมชาติ แต่กระนั้นงานศิลปะ Cubism ก็ไม่ใช่ศิลปะนามธรรมโดยแท้ ทั้งนี้เพราะมันยังมี เนื้อหาเรื่องราวในภาพอยู่ หากแต่ว่าสนใจ เข้มงวดที่คุณลักษณะของวัตถุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณสมบัติทางมวลหมู่ รูปทรงที่เราเห็นได้ด้วยปัญญา ดังนั้น Cubism จึงเป็นศิลปะที่พยายามเชื่อมโยงทั้งความคิด และสายตา เข้าด้วยกัน นั่นเอง

 

ศิลปินชื่อดังของยุคนี้ ได้แก่