เอกสารประกอบการเรียน   กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ

เรื่อง  ลายไทยประจำยามก้านแย่ง  ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคการเรียนที่ 2

 

-----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

การเขียนภาพลายไทยนี้มีมาตั้งแต่โบราณ ผู้เขียนภาพลายไทยในกาลก่อนมีความรู้สึกนึกคิด ตามสิ่งที่เกิ  ด ขึ้นตามธรรมชาติ แล้วนำมาเขียนเป็นลวดลายหรือภาพต่างๆ ต่อมาได้รับอิทธิพล จากต่างชาติ โดยเฉพาะ ชาวอินเดีย ได้นำศิลปะหลายแขนงเข้ามา ครูอาจารย์คนไทย ก็ได้เรียนรู้จากอาจารย์เหล่านั้น แล้วนำมาผสม ผสานกับศิลปะดั้งเดิม ของคนไทยสืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ หลักฐานตามประวัติศาสตร์ลายไทย ได้เริ่ม ขึ้น ตั้งแต่สมัยเชียงแสน สืบทอดกันมาที่สุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ แต่เดิมมีแต่ช่างตามวัดต่างๆ ต่อมาช่างเหล่านั้นได้ถวายตัวเพื่อรับใช้พระเจ้าแผ่นดินเรียก “ช่างหลวง” หรือ “ช่างสิบหมู่”

ลายประจำยาม

   ลายประจำยาม เป็นลายไทย พื้นฐานอีกประเภทหนึ่ง นอกเหนือจากลายกระจัง และลายกระหนก เป็นลายที่ใช้สำหรับการออกลาย ผูกลาย (ประดิษฐ์ลาย) สำหรับลายอื่น ๆ ต่อไป เช่น ลายรักร้อย ลายหน้ากระดาน ลายประจำยามก้านแย่ง และลายราชวัตร เป็นต้น

 

แม่ลายประจำยาม เป็นแม่ลายสำคัญอีกแม่ลายหนึ่ง ของการเขียนภาพไทย โดยรูปทรงทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ตรงกลางเป็นรูปวงกลม มีสี่กลีบคล้ายกับดอกไม้ และกลีบทั้งสี่ก็มาจากรูปทรงของ แม่ลายกระจังตาอ้อยนั่นเอง ซึ่งแม่ลายประจำยามนี้ สามารถแตกแขนง ออกไปได้อีกมากมาย โดยการใส่ไส้ซ้อนเข้าไป จนดูหรูหรามากขึ้น และรูปทรงยังสามารถ เปลี่ยนจากสี่เหลี่ยมจัตุรัส เป็นสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนได้อีกด้วย ซึ่งทำให้เกิดความงาม ที่แตกต่างไปอีกแบบหนึ่ง

วิธีการเขียนแม่ลายประจำยาม

        1.) เริ่มจากการเขียนรูป สี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้าง 3 นิ้ว แบ่งกึ่งกลางข้างละ 1.5 นิ้ว และส่วนที่เป็นทรงกลม ตรงกลาง 1 นิ้ว ตามภาพตัวอย่าง

        2.) เมื่อได้รูปโครงร่างตามแบบแล้ว ขั้นต่อมาให้เขียนรูปวงกลมก่อน โดยกางวงเวียนออก รัศมีครึ่งนิ้ว วาดทั้งทรงกลมด้านในและด้านนอก โดยให้ทรงกลมด้านใน ที่เป็นไส้ลาย มีน้ำหนักเส้นเบากว่า ทรงกลมที่เป็นเส้นรูปด้านนอก

        3.) วาดกลีบดอกทั้ง ๔ กลีบ กรรมวิธีเช่นเดียวกับ การเขียนลายกระจังตาอ้อย โดยคุณจะเลือกเขียนให้กลีบ มีรูปแบบเป็น การบากลายเข้า หรือบากลายออกก็ได้

        4.) เมื่อวาดได้รูปทรงทั้งหมดแล้ว ขั้นสุดท้ายคือการใส่กลีบรองดอก ที่มุมเว้าทั้ง 4 เป็นอันเสร็จสมบูรณ์

 

เอกลักษณ์ของลายไทย

  • เส้นลายในลายไทยจะมีความอ่อนโยน
  • มีการแบ่งระยะที่เหมาะสม มีจังหวะที่ดี
  • การใช้ลวดลายอ่อนช้อย มีการใช้ลูกเล่นพลิกแพลงต่อเนื่องได้ไม่สิ้นสุด
  • ลวดลายเป็นหมวดหมู่เดียวกัน

 

 

หลักการใช้สีมีอยู่หลายประการดังนี้

 

 

การใช้สีเอกรงค์ (Monochrome)

 

    หมายถึง การใช้สี สีเดียว หรือการใช้สีที่แสดงความเด่นชัดออกมาเพียงสีเดียว แต่มีการลดหลั่นกันในเรื่องน้ำหนักสีเพื่อให้เกิดความแตกต่าง วิธีการใช้สีเอกรงค์ คือจะใช้สีใดสีหนึ่งที่เป็นสีแท้(Hue) หรือมีความสด (Intensity) เป็นตัวยืนเพียงสีเดียวให้เป็นจุดเด่นของภาพ ส่วนประกอบรอบๆนั้นจะใช้สีเดียวกันแต่ลดความสดของสีให้น้อยกว่าสีหลัก สีที่นำมาเป็นส่วนประกอบอาจแบ่งน้ำหนักได้ตั้งแต่ 3 - 6 สี

l3_1
 

 

 

 

 

 

 

 

 


กำหนดสีน้ำเงินเป็นสีหลักของภาพและเพิ่มน้ำหนักอ่อน-แก่ของสีให้แตกต่างกัน

(ผลงานภาพพิมพ์ของ ชลสินธุ์ ช่อสกุล)

 

การใช้สีกลมกลืน (Harmony)

 

    หมายถึง การเคียงคู่กันของสีต่างๆ ซึ่งไปด้วยกันโดยไม่ขัดแย้ง หรือตัดกัน ความกลมกลืนของสีทำได้หลายลักษณะคือ

1. กลมกลืนด้วยค่าของน้ำหนักของสีๆเดียว (Total Value Harmony) คือการใช้สียืนเพียงสีเดียว แต่มีค่าหลายน้ำหนัก หรือเป็นแบบเดียวกับสีเอกรงค์ อาจใช้การผสมสีขาวให้น้ำหนักอ่อนลง และผสมดำให้น้ำหนัก

เข้มขึ้น

l3_2
 

 


การใช้สีกลมกลืนโดยการแบ่งน้ำหนักของสีๆเดียว

เป็นการแบ่งน้ำหนักของสีด้วยการใช้สีขาวและสีดำผสมกับสีน้ำเงินซึ่งเป็นสีหลัก

(ผลงานของ สิราภรณ์ กัจนา)

 

 

 

 

l3_32. กลมกลืนโดยใช้สีใกล้เคียง (Simple Harmony) เป็นการใช้สีข้างเคียงกันในวงจรสีซึ่งมีลักษณะสีใกล้เคียงกัน เช่น ม่วง - ม่วงน้ำเงิน - น้ำเงิน หรือ เขียวเหลือง - เขียว - เขียวน้ำเงิน

 

 

 

 

 

 

                                                                                     การใช้สีกลมกลืนโดยใช้ใกล้เคียงกันในวงจรสี

          สีที่ใช้ได้แก่สีเขียวเหลือง,เขียว,น้ำเงิน,เขียวน้ำเงิน

 (ผลงานของ จุพงศ์ ริมวิเชียร)

3. สีกลมกลืนโดยใช้สีคู่ผสม (Two Colors Mixing) หมายถึง สีคู่ใดคู่หนึ่งที่ผสมกันแล้วได้สีที่3 เช่น สีน้ำเงิน ผสมกับสีเหลืองได้สีเขียว แล้วน้ำทั้ง 3สีมาใช้ในงานเดียวกัน

 

l3_4
 

 


การใช้สีกลมกลืนโดยใช้สีคู่ผสมเป็นการใช้สีทั้ง 3สี ได้แก่ สีแดง เหลือง    และสีส้ม จากการผสมระหว่างสีแดง กับสีเหลือง

  (ผลงานของ จุพงศ์ ริมวิเชียร)

 

 

 

 

4.สีกลมกลืนโดยใช้วรรณะของสี (Tone) หมายถึง นำสีในกลุ่มวรรณะเดียวกันมาจัดอยู่ด้วยกัน เช่น สีในวรรณะร้อน เช่น แดง ส้ม เหลือง ม่วงแดง หรือสีในวรรณะเย็น ได้แก่ น้ำเงิน ม่วง เขียว เขียวน้ำเงิน เป็นต้น

 

l3_5
 

 

 


การใช้สีกลมกลืนโดยใช้วรรณะของสีเป็นการใช้   สีในวรรณะเย็นเกือบทั้งหมด ซึ่งได้แก่ สีเขียว สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียวน้ำเงิน ฯลฯ

  (ผลงานของ ประสิทธิ์ เสาวภาคย์พงษ์)

 

 

 

 

การใช้สีขัดกัน (Discord)

 

          หมายถึง การกลับค่าของน้ำหนักระหว่างสีแก่กับสีอ่อน โดยการกลับสีที่แก่มาเป็นสีอ่อนด้วยการผสมสีขาว หรือทำให้เจือจางลง เพื่อให้มีน้ำหนักอ่อนกว่าอีกสีหนึ่งที่เป็นสีที่อ่อน แต่ปรับให้เป็นสีแก่โดยการผสมดำ หรือสีเข้ม เพื่อเพิ่มน้ำหนักสีให้เข้มขึ้น แล้วนำมาจัดเข้าด้วยกันเพื่อสร้างความแตกต่างหรือความขัดแย้งที่เหมาะสม ทำให้ผลงานดูมีจังหวะ น่าสนใจกว่าการใช้สีกลมกลืนซึ่งอาจดูซ้ำๆ และจืดชืด

การกลับค่าของสี มักใช้เพื่อแต่งแต้มภาพเป็นบางจุดให้เกิดความน่าสนใจ ซึ่งมักจะใช้คู่สีระหว่างสีแก่กับสีอ่อนที่มีความเข้มต่างกันอย่างชัดเจน เช่น โครงสีของภาพเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นสีอ่อน แต่กลับเพิ่มน้ำหนักสีให้เข้มขึ้น ขณะเดียวกัน ก็นำสีม่วงซึ่งเป็นสีแก่มาลดค่าน้ำหนักลงให้อ่อนกว่าสีเหลือง โดยการนำมาเป็นส่วนประกอบในปริมาณน้อย จะทำให้ภาพไม่จืดชืดและน่าสนใจขึ้น

l3_7
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวอย่างการใช้สีขัดกันเป็นการกลับค่าสีของสีแก่คือแต้มสีน้ำเงินกับสีเขียวในส่วนที่เป็นจุดสว่าง (High Light) ของต้นไม้และเพิ่มน้ำหนักสีขาวเป็นเทาและน้ำตาลทำให้ภาพดูสวยงาม (ผลงานของJohn F.Carlson.)

ระยะของสี (Perspective of Color)

 

    หมายถึง การใช้สีซึ่งมีผลต่อความรู้สึกเรื่องระยะใกล้ไกลของภาพ โดยการนำสีแท้มาผสมให้สีหม่นลงโดยการทำให้เป็นสีกลาง เช่น การผสมสีตรงกันข้าม หรือสีกลาง เพื่อบ่งบอกระยะ ซึ่งโดยทั่วไปแบ่งเป็น 3ระยะ คือ ระยะใกล้ (Foreground) ระยะกลาง (Middle ground) และระยะไกล (Background) โดยมีหลักการให้สีคือ สีระยะใกล้สามารถใช้สีสด หรือเข้ม กว่าระยะที่ไกลออกไป สีที่อยู่ไกลออกไปมากเท่าใดค่าน้ำหนักสีก็จะอ่อนและจะดูเป็นสีกลางมากยิ่งขึ้น เช่น ภาพทิวทัศน์ ที่บ่งบอกถึงระยะใกล้ไกล และช่วงเวลา ซึ่งสีจะเป็นตัวช่วยสร้างบรรยากาศให้ภาพได้เป็นอย่างดี

l3_8
 

 

 

 

 





 

 

 

 

 

ตัวอย่างภาพที่ใช้สีบอกระยะของภาพการให้สีระยะใกล้จะสด เด่นชัด กว่าสีในระยะไกลที่เริ่มจาง หม่น

และมีน้ำหนักอ่อนลง(ผลงานของ เชาวฤทธิ์ เตยขาว)

 

จุดเด่นจากสี ( Dominance)

 

    หมายถึง การใช้สีที่ทำให้ส่วนสำคัญมีความเด่นชัดสะดุดตาเป็นแห่งแรก หรือเป็นจุดที่ดึงดูดความสนใจจากผู้ดูมากที่สุดในผลงานนั้น การทำให้เกิดจุดเด่นจะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้สี โดยอาจเลือกใช้สีที่ส่งเสริมให้เกิดพลังสีเด่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนพื้น และส่วนเด่นหรือจุดสนใจ ซึ่งมีหลายเทคนิควิธี เช่น การใช้สีตัดกัน หรือคู่ตรงข้ามกัน เช่น พื้นสีน้ำเงิน จุดเด่นสีเหลือง , การให้จุดเด่นเป็นสีแท้ ส่วนพื้นเป็นสีที่ถูกลดน้ำหนักลงโดยการทำให้สีหม่น สีนวล สีคล้ำ หรืออาจใช้สีดำเพื่อขับให้สีแท้ยิ่งเด่นชัดขึ้น

 

l3_9
 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ตัวอย่างการทำให้ผลงานดูเด่นด้วยการใช้สีเป็นการให้สีส่วนที่เป็นจุดเด่นจะใช้สีเหลืองสด

(สีแท้) ส่วนพื้นใช้สีดำและสีเข้มแต่ทำให้น้ำหนักหม่นลง (ผลงานของ Chen Chu Dian)

 

 

 


จิตวิทยาสีกับความรู้สึก (
Psychology of Color)    ในด้านจิตวิทยาสีเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกและมีผลต่อจิตใจของมนุษย์สีต่างๆจะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงมักใช้สีเพื่อสื่อความรู้สึกและความหมายต่างๆ ได้แก่

 

สีแดง                                                   สีส้ม

ให้ความรู้สึกร้อน  รุนแรง กระตุ้น ท้าทาย  เคลื่อนไหว    ให้ความรู้สึก ร้อน ความอบอุ่น ความสดใส มีชีวิตชีวา 

ตื่นเต้น เร้าใจ  มีพลัง ความอุดมสมบูรณ์ ความมั่งคั่ง    วัยรุ่น ความคึกคะนอง การปลดปล่อย  ความเปรี้ยว

ความรัก ความสำคัญ  อันตราย                             การระวัง

 

สีเหลือง                                                         สีเขียว

ให้ความรู้สึกแจ่มใส  ความสดใส  ความร่าเริง              ให้ความรู้สึก สงบ  เงียบ  ร่มรื่น  ร่มเย็น  การพักผ่อน 

ความเบิกบานสดชื่น ชีวิตใหม่  ความสดใหม่                การผ่อนคลาย ธรรมชาติ  ความปลอดภัย  ปกติ 

ความสุกสว่าง  การแผ่กระจาย  อำนาจบารมี                    ความสุข  ความสุขุม  เยือกเย็น

 

สีน้ำเงิน                                                สีม่วง

ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม          ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์  น่าติดตาม  เร้นลับ  ซ่อนเร้น

เอาการเอางาน ละเอียด  รอบคอบ  สง่างาม  มี            มีอำนาจ  มีพลังแฝงอยู่ ความรัก  ความเศร้า 

ศักดิ์ศรี  สูงศักดิ์  เป็นระเบียบถ่อมตน                        ความผิดหวัง  ความสงบ  ความสูงศักดิ์

 

สีฟ้า                                                              สีขาว

ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส ให้ความรู้สึก บริสุทธิ์ สะอาด สดใส เบาบาง อ่อนโยน 

สะอาด ปลอดภัย  ความสว่าง ลมหายใจ ความเป็น        เปิดเผย การเกิด  ความรัก ความหวัง  ความจริง 

อิสรเสรีภาพ การช่วยเหลือ แบ่งปัน                          ความเมตตา ความศรัทธา  ความดีงาม

 

สีดำ                                                              สีชมพู

ให้ความรู้สึก มืด สกปรก ลึกลับ  ความสิ้นหวัง              ให้ความรู้สึกอบอุ่น  อ่อนโยน  นุ่มนวล  อ่อนหวาน

จุดจบ ความตาย ความชั่ว ความลับ ทารุณ โหดร้าย       ความรัก  เอาใจใส่  วัยรุ่น หนุ่มสาว  ความน่ารัก

ความเศร้า หนักแน่น เข้มเข็ง อดทน มีพลัง                 ความสดใส

 

สีเทา                                                             สีน้ำตาล

ให้ความรู้สึก เศร้าอาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ สุภาพ        ให้ความรู้สึก ความสงบ เรียบ เก่าแก่ โบราณ     

ความหดหู่  ความชรา  ความสงบ ความเงียบ สุขุม         เป็นผู้ใหญ่ ขลัง

ถ่อมตน 

 

สีทอง

ให้ความรู้สึก ความหรูหรา  โอ่อ่า  มีราคา  สูงค่า 

สิ่งสำคัญ  ความเจริญรุ่งเรือง ความสุข  ความมั่งคั่ง 

ความร่ำรวย  การแผ่กระจาย